ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

ด้วยความเชื่อมั่นว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ นั้นจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มระยะยาวแก่นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และนำพาองค์กรไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย บริษัทฯ จึงได้กําหนดให้การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร ผ่านการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือที่ดีทางธุรกิจ ตามหลักปฎิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดี 

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดทำและประกาศใช้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ ที่สอดคล้องกับหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินธุรกิจ โดยมีคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับให้ความสําคัญ พร้อมทั้งปฏิบัติตามด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ 

คณะกรรมการบริษัท 

– คณะกรรมการมีความหลากหลาย (Board Diversity) โดยมีทักษะสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ผ่านการจัดทำตารางความรู้ความชํานาญ (Board Skills Matrix) และมีความหลากหลายในด้านประวัติการศึกษา ประสบการณ์ โดยไม่ได้จำกัดความแตกต่างอื่นใด 

– มีกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมากกว่าร้อยละ 66 

– มีกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระมากกว่าร้อยละ 50  

– มีกรรมการจำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้หญิงจำนวน 1 คน 

– ประธานกรรมการบริษัทเป็นคนละคนกับผู้นำบริษัท 

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Directors Performance Assessment) 

MFEC กําหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการบริษัทฯ (Board Performance Assessment) ในรูปแบบการประเมินทั้งคณะ (Group Assessment) และการประเมินตนเอง (Self-assessment) เป็นประจำทุกปี เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมพิจารณา ทบทวนผลการปฏิบัติงานและแนวทางปรับปรุงต่าง ๆ ในรอบปีที่ผ่านมา นําไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดําเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นบริษัทฯ ได้ประเมินผลปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ตามแนวปฏิบัติของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (CG Code) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ แบบทั้งคณะและตนเอง ซึ่งมีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล เปรียบเทียบกับผลคะแนนการประเมิน พร้อมทั้งจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถนําไปใช้ในการปรับปรุง ติดตาม และ พัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ ต่อไป

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

Corporate Governance Policy

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ     

แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์บริษัทฯ เพื่อให้พนักงานยึดถือปฏิบัติร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบข้อบังคับการทำงานทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ หัวหน้าหน่วยธุรกิจ คณะผู้บริหาร กรรมการ กรรมการอิสระ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ ประธานกรรมการบริหาร ประธานกรรมการบริษัท ซึ่งทุกคนในองค์กรมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติที่ดี ที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ   

การสนับสนุนส่งเสริมระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน     

มีการสนับสนุนส่งเสริมระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่กำหนดอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท นอกจากนี้ยังเพิ่มมูลค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น ช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงาน การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทให้บรรลุวัตถุประสงค์และแผนกลยุทธ์ที่กำหนด ด้วยการให้ความมั่นใจและให้บริการในลักษณะที่ปรึกษาอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม       

การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน     

MFEC ตระหนักถึงการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน โดยห้ามบุคลากรทุกระดับ ไม่ให้เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อบริษัท ตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงธุรกิจในทุกประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกําหนดของกฎหมาย เพื่อให้บุคลากรทุกระดับยึดถือเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งแสดงเจตนารมณ์ผ่านการสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติการของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thai Private Sector Collective Action Collective Against Corruption : CAC) อย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำการเป็นองค์กรแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่สะอาดโปร่งใส มีความมุ่งมั่น ยืนหยัดต่อต้านทุจริต   

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้สื่อสารให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ อาทิ คู่ค้า ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจให้รับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ส่งเสริมให้มีมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันที่เพียงพอ เหมาะสม เป็นมาตรฐานเดียวกับบริษัทฯ รวมถึงสนับสนุนให้เข้าร่วมปฏิบัติการของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thai Private Sector Collective Action Collective Against Corruption : CAC) เพื่อขยายเครือข่ายการประกอบธุรกิจที่โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชันไปด้วยกัน

คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ

Code of Conduct

เพื่อให้บริษัทฯ สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าเดิมและสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบและตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ทางบริษัทฯ ได้นำเสนอแผนการตลาดเชิงรุกที่ครอบคลุมทั้งการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับลูกค้า และการรับข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน ผ่านทางเว็บไซต์ และช่องทาง Social Media ทุกช่องทาง เพื่อให้ได้รับข้อมูลและความคิดเห็นของลูกค้าอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ทำการรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้า ทั้งในรูปแบบการสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าและบริการ เพื่อหาวิธีการตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้าอย่างเต็มที่ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ นำเสนอบริการต่าง ๆ

กรอบการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า 

– ศึกษาพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้า ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของตลาดและลูกค้า รวมถึงข้อมูลผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนา และกำหนดการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า 

– กำหนดกลยุทธ์ และแผนการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเดิมและสร้างฐานลูกค้ารายใหม่ ให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศ 

– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับลูกค้า โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อรับฟังความต้องการและแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตภัณฑ์ รวมถึงจัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากลูกค้า เพื่อนำปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

การบริหารจัดการ 

ในฐานนะผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์กรขนาดใหม่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของรากฐานการมีคุณภาพชีวิตในสังคม ไม่ว่างจะเป็นอุตสาหกรรมการธนาคาร โรงพยาบาล โทรคมนาคมและอีกมากมาย บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานสากล 

– ISO/IEC 20000-1:2018 มาตรฐานสากลในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระบบบริหารจัดการงานบริการ (Service Management System : SMS) อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดำเนินงานรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 

– ISO/IEC 27001:2013 มาตรฐานสากลสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล (Information Management System : ISMS) ซึ่งดำเนินการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งในปี 2567 จะเปลี่ยนแปลงระบบใหม่เป็น ISO/IEC 27001:2018   

การันตีความมั่นใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้ว่าบริษัท มีความสามารถและมาตรฐานในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและเป็นทิศทางดำเนินการของธุรกิจ ผ่านการจัดทำกระบวนการทำงานกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการได้รับบริการตามที่ระบุไว้ มีการจัดการบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกให้มีคุณภาพในการบริการให้กับผู้รับบริการ พร้อมทั้งสนับสนุนทรัพยากรและเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการ งานบริการให้มีคุณภาพและสามารถลดความผิดพลาดในการดำเนินการ โดยดำเนินงานบริการให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายการบริหารจัดการในบริการที่เกี่ยวข้อง 

เป้าประสงค์ในการบริหารจัดการบริการ 

– Business : บริการให้ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจและเป็นไปตามข้อตกลงระดับการให้บริการกับผู้ใช้บริการ 

– Policy/Legal : ดำเนินการสอดคล้องกับทิศทางองค์กร นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดของบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

– Innovation : นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยดำเนินการพัฒนางานบริการ ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรและผู้ใช้บริการ 

– Process : พัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพปรับปรุงต่อเนื่องและสอดคล้องกับมาตรฐาน 

– People : พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถตอบสนองต่องานบริการของบริษัทและความต้องการของผู้ใช้บริการ 

การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งเสริมให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าที่มีความเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ อาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของธุรกิจและชื่อเสียงของบริษัทได้ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า เพื่อลดความเสี่ยงจากคู่ค้าและผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท และความเชื่อมั่นของคู่ค้าในการเติบโตร่วมกันต่อไปอย่างยั่งยืน 

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

แผนบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

การดำเนินการด้านภาษี 

เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการปฏิบัติด้านภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้ 

จรรยาบรรณด้านภาษี : กลุ่มบริษัทมุ่งเป็นองค์กรที่มีการเติบโตอย่างมีคุณค่าและมีความรับผิดชอบด้านภาษีอย่างยั่งยืน รวมทั้งมุ่งเน้นเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นพลเมืองดีในการรับผิดชอบภาษี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม 

การบริหารความเสี่ยงด้านภาษี : ดำเนินการนําส่งภาษีหรือขอคืนภาษีอย่างถูกต้อง เหมาะสม ภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎระเบียบกำหนดไว้ รวมทั้งปฎิบัติตามกฎหมายภาษีของประเทศ เพื่อสะท้อนความโปร่งใสในการดำเนินการด้านภาษี โดยมุ่งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามโครงสร้าง ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการยกเว้นภาษีในบางช่วงเวลาตามนโยบายภาษีของประเทศภายใต้การประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำการศึกษาและพิจารณาผลกระทบทางภาษีเมื่อมีโครงการลงทุนหรือทำธุรกรรมใหม่ หรือเมื่อมีการประกาศกฎหมายและนโนบายด้านภาษีใหม่ เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และคํานึงถึงประโยชน์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ปฎิบัติงานด้านภาษีของกลุ่มบริษัทเข้าอบรมในหลักสูตรด้านภาษีอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวมถึงให้ความรู้ให้คำปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ ละบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 

ความโปร่งใสด้านภาษี : รายงานภาษีต่อภาครัฐอย่างโปร่งใสและไปเป็นตามข้อกําหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ตลอดจนสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับนโยบายด้านภาษี เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมผ่านการลงทุนก่อตั้งบริษัท Venture Lab เป็นเสมือน Venture Builder หรือโรงงานปั้นธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ ๆ โดยเริ่มตั้งแต่คิดไอเดียที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จนถึงขยายธุรกิจให้เติบโต ปัจจุบันบริษัท Venture Lab สามารถพัฒนาและสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ในการสร้างนวัตกรรมระดับองค์กร จากการสั่งสมประสบการณ์ และความชำนาญมากกว่า 5 ปี โดยมีส่วนช่วยองค์กรขนาดใหญ่ SME และผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรมไปแล้วกว่า 180 ราย ด้วยความตั้งใจที่จะเป็น Enabler หรือผู้ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy เพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนในระยะยาวให้กับประเทศ 

นโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม 

นโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม

MFEC ได้นําระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดําเนินงานให้บริการผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การใช้สารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม มี ประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม หรือถูกคุกคามจากภัยต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินงาน ทรัพย์สิน และบุคลากร บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้มีนโยบาย (Policy) แนวทางปฏิบัติ (Guideline) ข้อกําหนด (Standard) และขั้นตอนปฏิบัติ (Procedure) ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้สอดคล้องตามกฎหมาย มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ  

อีกทั้งจัดทำคู่มือคุณภาพด้านระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เพื่อบริหารจัดการงานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นระบบการบริหารจัดการงานที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักของการปกปิด (Confidential) ความพร้อมใช้ (Availability) และความถูกต้อง (Integrity) ซึ่งการดำเนินการจะพิจารณาตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผนดำเนินการ การดำเนินการ การรายงานผล และการปรับปรุงงานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 

นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

นโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ

คู่มือคุณภาพด้านระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

คู่มือคุณภาพด้านระบบการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อกันผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การเผชิญหน้ากับอุปสรรคและความเสี่ยงทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) โดยมีความตั้งใจที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ให้กับลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูงสุดในการป้องกันการบุกรุกทางไซเบอร์ หรือการสร้างนโยบายและกระบวนการที่เข้มงวดในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีความเสถียรภาพ   

กระบวนการดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า:

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น และนักลงทุน

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น และนักลงทุน

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

โครงการ

โครงการพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลัก ESG (Sustainable Business Development Project with ESG) 

ESG (Environment, Social, Governance) คือ แนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน โดยมีการให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านสังคม (Social) และด้านบรรษัทภิบาล (Governance) เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจได้อีกด้วย 

โครงการการสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

บริษัทฯ ได้มีการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับเปลี่ยนให้พนักงานทุกคนเพิ่มข้อความ Disclaimer ลงท้ายในอีเมล เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทฯ