MFEC มีเจตนารมณ์ และสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันซึ่งเป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน และปลูกฝังให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ตระหนักและปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดจนดูแลบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเท่าเทียมกัน ครอบคลุมในเรื่องการปกป้อง การเคารพ และการเยียวยาจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ กำหนดขึ้นโดยมีกรอบแนวทางมาจากหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อาทิ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compat: UNGC) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process)
MFEC จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ด้วยวิธีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Impact Assessment) เพื่อระบุความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และจัดกลไกการป้องกัน บรรเทาผลกระทบ และขั้นตอนการเยียวยาหากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นสร้างความตระรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมและเพียงพอตลอดการดำเนินธุรกิจ
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติด้านแรงงาน
MFEC ตระหนักและเห็นคุณประโยชน์ของการนําความคิด ทักษะ ประสบการณ์ที่แตกต่างและหลากหลายของแต่ละบุคคล มาต่อยอดเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน จึงได้ส่งเสริมการจ้างงานอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และไม่มีการเลือกปฏิบัติตั้งแต่กระบวนการสรรหาคัดเลือกพนักงานไปจนถึงวาระการสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทฯ โดยจัดให้มีขั้นตอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน และหลักการในคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ ดังนี้
– การประกาศรับสมัครงานจะไม่มีข้อความกีดกันสิทธิผู้สมัครงานใด ๆ
– การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน จะไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุจาก อายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ทุพพลภาพ ศาสนา ภาษาที่ใช้โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่ต้องการตามตำแหน่งงานที่รับสมัคร
– ค่าจ้าง สวัสดิการ และสภาพการจ้างงานที่เสนอให้ผู้สมัครจะเท่าเทียมตามมาตรฐานของตำแหน่งงาน
– เอกสารสมัครงานจะต้องถูกเก็บเป็นความลับไม่เปิดเผยกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง และมีการกำหนดผู้ควบคุม ผู้ดูแลข้อมูลที่จะนําข้อมูลไปใช้และการเก็บข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– การทดสอบทางจิตวิทยา และการตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงานต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
– มีการประเมินความเสี่ยงของผู้สมัครตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
และเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานให้สามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความแตกต่างได้ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่เกิดการล่วงละเมิดและการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ มีความเคารพซึ่งกันและกัน บริษัทฯ จึงได้มีการกำหนดนโยบายเรื่องการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดไว้อย่างชัดเจน
แนวปฏิบัติการไม่เลือกปฏิบัติและต่อต้านการล่วงละเมิด
– ผู้ถูกกระทำแจ้งกับผู้กระทำให้หยุดการกระทำนั้น ๆ ทันทีในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
– หากผู้กระทำไม่สนใจและยังดำเนินการต่อ ให้ผู้ถูกกระทำรายงานกับผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตน หรือหัวหน้าของผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลตามความเหมาะสม
– ผู้บริหารระดับผู้อํานวยการหรือเทียบเท่าขึ้นไปของฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบถามข้อมูลจากผู้ถูกกระทำ ผู้ถูกกล่าวหา และพยาน (ถ้ามี) ภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับรายงาน
– ผู้บริหารระดับผู้อํานวยการหรือเทียบเท่าขึ้นไปของฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงาน ทีมสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคําสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทีมสืบสวนข้อเท็จจริง ที่บริษัทฯ กำหนด
– คณะทำงานทีมสืบสวนข้อเท็จจริง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาโทษทางวินัยต่อผู้กระทำผิด หรือรายงานข้อเท็จจริงโดยสื่อสารการสรุปผลให้บุคลากรของบริษัทฯ ได้รับทราบ
– หากการกระทำผิดเป็นคดีอาญาและต้องดำเนินการตามกฎหมายต้องให้ฝ่ายกฎหมายเข้ามามีส่วนในการดำเนินการสืบสวน
– ผู้ถูกกระทำที่รายงานเหตุการณ์การล่วงละเมิด การคุกคามจะได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม และเก็บเป็นความลับไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบจากการรายงานดังกล่าว
การดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่บริษัทฯ ให้ความตระหนัก และสนับสนุนให้เกิดการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดทำคู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎระเบียบ และข้อบังคับด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งลดความสูญเสียด้านชีวิต และทรัพย์สินที่อาจเกิดจากการทำงาน พนักงานทุกคนต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานที่จะเกิดขึ้น เพราะเรื่องความปลอดภัยในการทำงานไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกคนในการปฏิบัติร่วมกัน
นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การพัฒนาบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร บริษัทฯ จึงส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและมีองค์ความรู้ไหลเวียนอยู่ในองค์กร โดยมุ่งมั่นที่จะยกระดับศักยภาพของพนักงาน ผ่านการแบ่งปันความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน เน้นการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และทักษะที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่สำคัญในสาขางานหรือวิชาชีพของพนักงาน ผ่าน SkillShift Academy พื้นที่สำหรับการปลดปล่อยศักยภาพ ทำให้พนักงานสามารถสร้างโอกาสการเติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้
แนวทางการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
เพื่อให้การเรียนรู้ของพนักงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กร และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ บริษัทฯ จึงกำหนดกระบวนการ L&D STRATEGIES ขึ้นมาเพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่
– Embrace the New Technologies/Business เรียนรู้อย่างเท่าทันเพื่อก้าวนำ Technology
– Drive MFEC Culture/DNA ส่งเสริมทักษะและมุมมองในการทำงานที่สอดคล้องกับ MFEC Core Value
– Enhance Key Functionals Role สนับสนุนการทำงานของตำแหน่งสำคัญในองค์กร
– Elevate Organizational Leadership พัฒนาหัวใจหลักของการทำงานร่วมทีมด้วยศักยภาพของผู้นำ
MFEC เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบริษัท และการจัดให้มีช่องทางแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โดยการสำรวจความคิดเห็นผ่านการทำ Employee Engagement Survey โดยเป็นการวัดความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เพื่อสำรวจความผูกพันของพนักงานในมิติต่าง ๆ และการวัดผลเรื่องการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรนี้ยังสะท้อนถึงแรงจูงใจและทัศนคติในการทำงานที่ดี โดยผลการสำรวจนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณค่า และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ทำให้พนักงานรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จ
เพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินผลงานของพนักงานเป็นไปอย่างยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ บริษัทฯ จึงมีโครงการที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลในรูปแบบการบริหารผลงานทั้งภาพรวมของทีม และส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน สนับสนุนโครงสร้างแบบ Network Organization Structure ผ่านการสื่อสารระหว่างหัวหน้างานและทีมงานเพื่อสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมในการทำงานรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถวัดผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพภายใต้ระบบประเมินผลงาน “Mpulse” มีองค์ประกอบตัวชี้วัดผลการปฎิบัติงานใน 2 ด้าน ดังนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย Key Performance Indicator (KPI)
ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน เทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ โดยการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับสอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายองค์กร และส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรในภาพรวม นอกจาก Corporate KPI ที่เป็นตัวชี้วัดระดับองค์กรแล้ว บริษัทได้กำหนดให้มีตัวชี้วัดในระดับหน่วยงาน (Department KPI) และระดับบุคคล (Individual KPI) เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำตัวชี้วัดระดับหน่วยงานไปตั้งเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดในระดับบุคคลให้กับพนักงานในสังกัด
การประเมินผลพฤติกรรม (Key Behavior) ด้วย Core Value
ค่านิยมขององค์กร สะท้อนการแสดงออกพฤติกรรมของพนักงานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ในด้านความทุ่มเท และความผูกพันของพนักงานทุกระดับ
โดยสัดส่วนน้ำหนักของคะแนนที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานขององค์ประกอบทั้งสองนี้ จะแตกต่างตามระดับตำแหน่งงาน (Job Level) ของพนักงาน ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ระบบ Mpulse ในการบริหารจัดการพัฒนาศักยภาพ และบริหารค่าตอบแทนพนักงานได้อย่างเหมาะสม โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีการสะท้อนผลประเมินการปฏิบัติงานผ่านเกรด (Performance Grading) ช่วงคะแนน (Score Ranking) และกำหนดแนวทางการให้ Employee Reward ที่สอดคล้องกับผลการประเมิน
MFEC เน้นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและชุมชน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ตามความตั้งใจที่ต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
จากรายงานเรื่องทักษะดิจิทัลของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2563 บ่งชี้ว่ามีเพียง 54.9% ของแรงงานไทยที่มีองค์ความรู้ด้านทักษะดิจิทัล และจุดอ่อนคือความไม่พร้อมในการปรับตัวสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต ทำให้บริษัทฯ หันมาให้ความสำคัญในการสร้างการเข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่สังคมอย่างจริงจัง โดยมีแนวทางดำเนินการในการเพิ่มโอกาสให้คนในสังคมมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยี ดังนี้
– จัดโครงการฝึกอบรมและการศึกษาทางเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มคนทั่วไปที่มีความสนใจ หรือต้องการเข้าถึงความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมทั้งสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้คนเข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี
– ส่งเสริมการสร้างสรรค์และการเรียนรู้เชิงออนไลน์ โดยสร้างพื้นที่สำหรับการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์ม Social media เพื่อให้คนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีได้
– สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สนับสนุนโครงการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับกลุ่มที่นิสิต นักศึกษา ที่จะกลายเป็นแรงงานในตลาดในอนาคต เพื่อลดอัตราการว่างงานสำหรับเด็กจบใหม่
MFEC มุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางการตลาดและโฆษณาอย่างเคร่งครัด โดยเน้นให้ข้อมูลทางการตลาดและโฆษณาที่ถูกต้อง เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการบิดเบือนความเป็นจริง เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการตัดสินใจในการใช้บริการ จึงเชื่อมั่นได้ว่าในทุกการดำเนินการด้านการตลาดและโฆษณาของบริษัทฯ ได้มีการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน
แนวปฏิบัติด้านการตลาดและโฆษณาอย่างรับผิดชอบ
– มีความถูกต้องและเที่ยงตรง : เน้นให้ข้อมูลในการสื่อสารและโฆษณาเป็นไปตามความเป็นจริง ไม่มีการบิดเบือนหรือเจาะจงข้อมูลที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา
– มีความเป็นธรรมและเท่าเทียม : ปฏิบัติตามหลักการที่เคารพสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ไม่มีการใช้โฆษณาที่ละเมิดหรือก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม
– มีความสร้างสรรค์และคุณค่า : สร้างโฆษณาที่มีคุณค่าและสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้าและชุมชนโดยรวม ไม่เพียงแต่เน้นการขาย แต่สร้างความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีต่อผู้รับโฆษณา
– เคารพสิทธิมนุษยชน : ไม่เห็นด้วยกับการใช้โฆษณาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคล
– ป้องกันการล่วงละเมิด : ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของผู้อื่นในโฆษณาของธุรกิจ
– มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม : มุ่งเน้นการสร้างโฆษณาที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้สารพิษและการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตและการโฆษณา
– การเผยแพร่ข้อมูล : สื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเท็จจริงอย่างชัดเจนกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเสถียรภาพ
– มีความเป็นกลางและความเป็นธรรม : ไม่ใช้โฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดความสนใจโดยใช้คำพูดหรือภาพที่ขัดแย้ง หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง
– มีความเป็นระบบและเป็นลำดับ : มีกระบวนการและการควบคุมที่เข้มงวดในการสร้างและดำเนินการโฆษณา เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดและความเสี่ยง
– มีความโปร่งใสและความชัดเจน : สร้างโฆษณาที่ชัดเจนและโปร่งใสเพื่อให้ผู้รับโฆษณาเข้าใจและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี Low-Code ด้วยเครื่องมือ ServiceNow เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำเร็จรูปได้อย่างรวดเร็วและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเป็นจบการศึกษาตรงสาย ก็สามารถทำงานด้าน IT ได้ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ MFEC และคู่ค้าร่วมกันถ่ายทอดความรู้และมีการทำ Workshop
ส่งเสริมความรู้และทักษะให้กับผู้ที่มีความสนใจในสายงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการวางแผนพัฒนาธุรกิจด้วยความยั่งยืน พร้อมส่งเสริมโอกาสทางอาชีพ ด้วยการผลิตบุคลากรในตำแหน่ง Digital Sustainability Specialist เสริมสร้างขีดความสามารถในการนำความรู้และทักษะที่มีมาช่วยผลักดันให้กลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
สร้างขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้คนที่สนใจอยากจะทำความรู้จักกับ Innovation Team ของทาง MFEC เป็นการทำความรู้จักแบบลงลึก และเปิดโอกาสสำคัญในการเข้าสู่สายงาน Corporate Startup ให้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจกรรมเป็นการทำ Business Case Workshop โดยแบ่งสายออกเป็น Business Development, Operation & Product Management, Technology และ Marketing มี Expert มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสายที่ให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา ตั้งแต่การตั้งต้นหาไอเดียธุรกิจไปจนถึงการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคต
ส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น Technology skill, Business skill, Soft skill หรือทักษะความรู้อื่น ๆ เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture) ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
ผลักดันการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านรูปแบบ Community ร่วมแบ่งปันความรู้แบบ Peer to Peer โดยเน้นพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพื่อให้พนักงานสามารถนำประโยคภาษาอังกฤษมาปรับใช้ในการติดต่อพูดคุยกับลูกค้าหรือบริษัทคู่ค้าต่างชาติได้ดีมากยิ่งขึ้น