การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

     ความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ มูลค่าธุรกิจ และความปลอดภัยของพนักงาน อีกด้วย ดังนั้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยมีการประเมินผลกระทบต่อธุรกิจและผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ 

     เป้าหมายในการบรรเทาความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  คือการลดผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งหวังที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรักษาอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน อาทิ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาความเสี่ยง การส่งเสริมการศึกษาและการเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการบรรเทาความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

การกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Governance)  

     MFEC ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงหรือโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ดังนี้

1. เป็นผู้กำหนดบทบาทและมอบหมายหน้าที่หรือบุคลากรที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. ดำเนินการติดตามตัวชี้วัดความเสี่ยง รวมถึงการบูรณาการความเสี่ยงหรือโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

3. พิจารณาทบทวนหรือปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4. สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และทักษะของบุคลากร ในการดำเนินการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

     นอกจากนี้บริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างการกำกับและบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับกรรมการบริษัทและถ่ายทอดไปยังระดับปฏิบัติการ เพื่อให้การบริหารจัดการการดำเนินงานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวไปกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของบริษัทฯ คณะกรรมการที่รับผิดชอบในการดูแลจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บรรษัทภิบาลและความยั่งยืน (Risk Management, Corporate Governance and Sustainability Committee) คณะกรรมการดังกล่าวเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน ดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง ครอบคลุมความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำกับดูแลการบริหารงานด้านความยั่งยืน  ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้มีการประชุมเพื่อติดตามความเสี่ยงและกำหนดมาตรการควบคุมที่เกี่ยวข้องทุกไตรมาส  นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานความยั่งยืน (SD Working Team) คอยทบทวนการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลักดันไปสู่การปฎิบัติ สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก มีการวิเคราะห์และนำเสนอปัจจัยความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน (Risk Management, Corporate Governance and Sustainability Committee)  รับทราบ เพื่อบูรณาการความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปกับความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้มีการกำกับดูแลต่อไป

การประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

     ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท โดยระบุและประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการ การเงิน และชื่อเสียงของบริษัท ครอบคลุมกรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแปรปรวน การจัดการก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า 

ความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ 

     ความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สามารถแบ่งออกได้เป็น   2 ประเภท  คือ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง  และความเสี่ยงทางกายภาพ  

· ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง (Transition Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนที่ต่ำลง (Lower-Carbon Economy) เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน 

· ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเนื่องจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้แก่ อุณหภูมิที่สูงขึ้นและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงผิดปกติ เช่น พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น  

ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อองค์กรในด้านความยั่งยืน 

     MFEC ได้ระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ ทั้ง ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง  และความเสี่ยงทางกายภาพ รวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว ดังนี้ 

 

Loading..........

The Data is Not Available