การพัฒนาศักยภาพของพนักงานคือกุญแจสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ
Post

การพัฒนาศักยภาพของพนักงานคือกุญแจสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง การพัฒนาและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงจึงกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน การที่บริษัทพร้อมสนับสนุนและผลักดันศักยภาพของพนักงาน ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและความผูกพันให้กับพนักงานในการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทอีกด้วย  “เราจะเป็นบริษัทไอทีที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด ผ่านการผลักดันศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัดของพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน” หนึ่งในวิสัยทัศน์ของ MFEC คือการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เพื่อให้พนักงานได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาพนักงานไม่ได้เป็นเพียงแค่การอบรมหรือเพิ่มทักษะเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ เติบโต และมีส่วนร่วมในความสำเร็จขององค์กรไปด้วยกัน   MFEC จึงส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและมีองค์ความรู้ไหลเวียนอยู่ในองค์กร โดยมุ่งมั่นที่จะยกระดับศักยภาพของพนักงาน ผ่านการแบ่งปันความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน เน้นการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และทักษะที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่สำคัญในสาขางานหรือวิชาชีพของพนักงานผ่าน SkillShift Academy พื้นที่สำหรับการปลดปล่อยศักยภาพที่รวมหลักสูตรที่ครอบคลุม ทำให้พนักงานสามารถสร้างโอกาสการเติบโตในเส้นทางของตนเองได้    แต่การพัฒนาศักยภาพเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรรักษาคนเก่งไว้ได้ MFEC จึงได้สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า และมีความผูกพันกับองค์กรเพื่อให้พวกเขาเลือกที่จะอยู่กับองค์กรในระยะยาว ผ่านการจัดให้มีช่องทางแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โดยการสำรวจความคิดเห็นผ่านการทำ Employee Engagement Survey โดยเป็นการวัดความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร  เพื่อสำรวจความผูกพันของพนักงานในมิติต่าง ๆ ช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจผ่านการจัดทำแบบประเมินผลงานที่สอดคล้องกับการเติบโตในหน้าที่การงาน ทำให้พนักงานรู้สึกมีความมั่นคงและพร้อมที่จะทุ่มเทให้กับงานมากยิ่งขึ้น   ท้ายที่สุด การพัฒนาพนักงานและการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการเพิ่มทักษะหรือให้ผลตอบแทน แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจ และความผูกพันที่ทำให้พนักงานอยากเติบโตไปพร้อมกับองค์กรในระยะยาวต่อไป  

ความสุขของพนักงานคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรและความยั่งยืน 
Post

ความสุขของพนักงานคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรและความยั่งยืน 

หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรและความยั่งยืน  ในยุคปัจจุบันองค์กรทุกแห่งต่างให้ความสำคัญในเรื่องความสุขของพนักงาน เพราะพนักงานคือหัวใจของการขับเคลื่อนองค์กร และสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง สำหรับพนักงานทั่วไปแล้ว พวกเขาใช้เวลาในชีวิตมากถึง 70-80% ไปกับการทำงานในองค์กร ดังนั้น หากพนักงานไม่มีความสุข ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างที่ควรจะเป็น  MFEC เรามองเห็นคุณค่าของความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด ทักษะ หรือประสบการณ์ของพนักงานแต่ละคน เราเชื่อว่าความแตกต่างเหล่านี้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงได้มีการส่งเสริมความเท่าเทียม และความเป็นธรรมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การสรรหาพนักงานไปจนถึงการสิ้นสุดการทำงานกับบริษัทฯ โดยมีขั้นตอนที่สอดคล้องกับนโยบาย พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมในเรื่องค่าตอบแทน โดยมีระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและผลสำเร็จของงาน จากตัวชี้วัดและการประเมินผลงานของพนักงานที่ถูกจัดทำขึ้นอย่างชัดเจน เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้  และเพื่อให้พนักงานรู้สึกมั่นคงพร้อมทั้งมีแรงจูงใจในการจะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย MFEC จึงได้คำนึงถึงการจัดสรรสวัสดิการที่ตอบโจทย์กับสถานณ์ในปัจจุบันและเหมาะสมต่อพนักงานทุกระดับ อีกทั้งยังเน้นย้ำในเรื่องของความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน ผ่านการจัดทำคู่มือให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อบังคับด้านความปลอดภัย และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ที่มีหน้าที่เจรจาหารือ รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน และจัดสรรสวัสดิการที่เป็นประโยชน์อย่างรอบด้าน   เกิดโครงการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานต่าง ๆ มากมายภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Workshop ที่เน้นสร้างความผ่อนคลาย เช่น การเพ้นท์กระถางต้นไม้ การถักกระเป๋าไหมพรม เป็นต้น หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อย่างกิจกรรมออกกำลังกายและอบรมที่เกี่ยวกับอาการออฟฟิศซินโดรม นวดผ่อนคลายโดยผู้พิการทางสายตา ซึ่งนอกจากพนักงานจะได้ผ่อนคลายจากความเครียดในการทำงานแล้ว ยังเป็นการให้โอกาสผู้พิการทางสายตาได้มีรายได้จากความสามารถของพวกเขาเองด้วย   “พนักงานมีความสุขเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนความยั่งยืน” คือแนวคิดที่...